การตีเหล็กทำดาบแบบญี่ปุ่น

ประกายไฟสีส้มที่พวยพุ่งออกมาอย่างเป็นจังหวะท่ามกลางความมืด เคล้ากับควันสีขาวที่ลอยอบอวลด้านบน ชายคนหนึ่งกำลังกวัดแกว่งเหล็กร้อนๆที่ถูกหลอมจนเหลวอยู่หน้ากองไฟที่ลุกโชน ใบหน้าของเขาเปรอะเปื้อนไปด้วยเขม่าดำ ในขณะที่เขากำลังเทเหล็กเหลวสีแดงร้อนลงในทั่งตีเหล็ก แล้วยกค้อนยักษ์ขึ้นสูง ทุบลงไปอย่างแรงจนเกิดเสียงดังกังวาน เป็นจังหวะ ประกอบกับเปลวไฟที่กระจายออกมาอย่างสวยงาม

ตอนนี้ฉันอยู่ที่เมืองเซกิ จังหวัดกิฟุ ซึ่งเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการทำดาบแบบญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงในระดับโลก เพราะที่นี่เป็นแหล่งรวมช่างตีเหล็กมากประสบการณ์ในการทำดาบ มีด และอุปกรณ์การตัดอื่นๆอีกมากมาย ที่นี่มีประวัติสืบต่อกันมายาวนานกว่า 800 ปี เมืองเซกินี้ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดกิฟุ ซึ่งมีภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์มาก โดยมีแม่น้ำสองสายไหลผ่านทำให้มีน้ำสะอาดใช้อยู่ตลอดทั้งปี และทำให้ที่นี่มีดินแม่น้ำชั้นดีที่ใช้ในการชุบโลหะ ประกอบกับแถวนี้เป็นแหล่งถ่านหินอันอุดมสมบูรณ์ ยุทธศาสตร์เมืองและวัตถุดิบที่ดีเยี่ยมเช่นนี้จึงทำให้ที่นี่เป็นแหล่งหลอมโลหะที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง

ชาวเมืองเซกิแห่งนี้มีความภาคภูมิใจในการผลิตมีดและอุปกรณ์การตัดต่างๆเป็นอย่างมาก โดยมีการก่อตั้งสมาคมมีดแห่งเมืองเซกิขึ้นเพื่อผลิตมีดและดาบแบบญี่ปุ่น ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 60 คน และในจำนวนนี้มี 10 คนที่เป็นช่างตีดาบดั้งเดิมที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลให้สานต่อศิลปะการทำมีดดาบแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า คาตานะ (刀 かたな katana) ดาบญี่ปุ่นที่มีลักษณะคมด้านเดียวซึ่งมีการผลิตด้วยรูปแบบเฉพาะ ถือโดยชนชั้นสูงของญี่ปุ่นในสมัยศักดินา จนได้รับชื่อว่าดาบซามูไร โดยช่างตีดาบดั้งเดิมกลุ่มนี้เป็นบุคคลกลุ่มเดียวที่ได้รับอนุญาตให้ทำดาบชนิดนี้ขึ้นได้

ในทุกๆปีจะมีการจัดงานเทศกาลประเพณีตีดาบเซกิขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ช่างตีเหล็กเซกิ โดยในงานนี้จะมีการจัดแสดงมีด ดาบ และอุปกรณ์การตัดที่มีใบมีดเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยมากมายที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม และที่สำคัญเมืองเซกิแห่งนี้มีชื่อเสียงทางด้านการทำดาบในระดับโลก เช่นเดียวกับเมืองโซลินเกน ประเทศเยอรมัน และเมืองเชฟฟีลด์ ประเทศอังกฤษ

วันนี้ฉันจะพาไปดูการผลิตใบมีดที่มีลักษณะพิเศษและไม่เหมือนที่ใดบนโลก

กว่า 26 รุ่นของช่างทำดาบญี่ปุ่น

ฟูจิมาระ คะเนฟุซะ ช่างตีดาบญี่ปุ่น

การตีเหล็กของที่นี่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นเป็นเวลายาวนานกว่า 800 ปีแล้ว ตระกูลฟูจิวาระได้ผลิตดาบให้กับชนชั้นซามูไรตลอดช่วงยุคซามูไร วันนี้เรามีโอกาสได้พบกับคุณฟูจิมาระ คะเนฟุซะ ช่างตีดาบรุ่นที่25 พร้อมกับลูกชายของเขาซึ่งก็เป็นช่างตีดาบรุ่นที่ 26 ที่พิพิธภัณฑ์เซกิฮาโมโนะ

เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์การตีดาบญี่ปุ่น

วันนี้คุณฟูจิมาระ คะเนฟุซะ ช่างตีดาบรุ่นที่ 26 ได้พาฉันไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์การตีดาบ และอธิบายถึงขั้นตอนการทำดาบญี่ปุ่น โดยเริ่มต้นจากการใช้ทรายที่ได้มาจากจังหวัดชิมาเนะมาผสมเข้ากับถ่านหิน แล้วนำส่วนผสมนี้ไปหลอมในเตาที่อุณหภูมิกว่า 800 องศาเซลเซียส โดยขั้นตอนนี้ใช้เวลา 3 วัน และต้องมีคนคอยเฝ้าดูแลอยู่ตลอดด้วย พอพ้น 3 วันจากนี้ ส่วนผสมในเตาจะถูกแบ่งออกจากกันเป็น 5 ส่วน ตามระดับความแข็ง โดยส่วนที่มีความแข็งมากที่สุด มีส่วนผสมของคาร์บอนมากที่สุดเรียกว่า ทามาฮากาเนะ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ เหล็กประกายเพชร ซึ่งถือว่าเป็นระดับความแข็งที่มีความสำคัญมากที่สุด

หลังจากที่มีการแยกความแข็งออกเป็น 5 ระดับแล้ว ช่างตีดาบก็จะนำโลหะเหล่านั้นมาหลอมรวมกันในเตาที่อุณหภูมิ 1300 องศาเซลเซียส แล้วนำออกมาตี ยืด และพับ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆอย่างน้อย 10 ครั้ง โดยในขั้นตอนนี้เป็นการทำเพื่อเสริมสร้างความแข็งเเกร่งให้กับใบมีด โดยคุณฟูจิมาระ คะเนฟุซะ ช่างตีดาบรุ่นที่ 26 ได้บอกว่า “ถ้าเราเลือกใช้แต่เหล็กที่แข็งที่สุด ดาบที่ออกมาจะใช้ตัดสิ่งของได้ดี แต่จะเปราะบาง แตกหักง่าย แต่ถ้าใช้เหล็กที่มีความแข็งน้อยกว่า ดาบจะมีความแข็งแกร่ง แต่มันก็ไม่สามารถใช้ตัดได้เหมือนกัน ”

เมื่อผ่านกระบวนการขึ้นรูปและตีดาบเรียบร้อยแล้ว ช่างตีดาบจะใช้ดินสูตรลับเฉพาะมาพอกบนผิวของดาบ “พอกโคลนบางๆตรงส่วนปลายของดาบ ส่วนด้านหลังให้พอกหนาๆ” โดยขั้นตอนการพอกโคลนนี้ ได้รับการสืบทอดมานานหลายศตวรรษแล้ว แต่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในช่วงที่ชนชั้นซามูไรทำดาบของพวกเขาใช้เอง

ฟูจิมาระ คะเนฟุซะ สาธิตขั้นตอนการทำดาบญี่ปุ่น

จากนั้นดาบจะนำไปผ่านความร้อนที่ 800 องศาเซลเซียสซ้ำๆ และนำไปจุ่มในน้ำเย็นซึ่งจะทำให้ใบมีดแข็งขึ้น กระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ทามาฮากาเนะไปสิ้นสุดที่ใบมีดสำเร็จรูปจะใช้เวลาทั้งหมด 15 วัน กระบวนการเหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดมาหลายศตวรรษ และมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในช่วงที่ขุนนางและซามูไรเริ่มหันมาทำดาบมากขึ้น

การทำดาบในทุกวันนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล การทำดาบคะตะนะ หรือดาบซามูไรที่มีความคมด้านเดียวสามารถทำได้เฉพาะช่างตีดาบที่มีใบอนุญาตเท่านั้น โดยในปัจจุบันมีช่างกลุ่มนี้อยู่เพียง 10 คนในกิฟุ และในแต่ละเดือนช่างแต่ละคนสามารถตีดาบได้แค่ 2 เล่มเท่านั้น และดาบแต่ละเล่มจะต้องมีใบรับรองการลงทะเบียนที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าดาบเล่มนั้นถูกผลิตด้วยวิธีการแบบดั้งเดิม โดยช่างตีดาบที่มีใบอนุญาต

การเป็นช่างตีดาบที่นี่ไม่ใช่งานง่ายนัก และผมก็สงสัยว่าจะมั่นใจในคุณภาพดาบได้อย่างไรกันนะ ฉะนั้นเราจะพาไปดูการทำงานของช่างตีดาบที่นี่ คุณฟูจิมาระ คะเนฟุซะ ช่างตีดาบรุ่นที่ 25 พาเราไปชมการสาธิตกระบวนการคัดเลือก ฉันถอดเสื้อคลุมที่ทำจากเส้นใยไฮเทคซึ่งมันสามารถติดไฟได้ง่ายมาก ก่อนที่จะเข้าไปชมการสาธิตในครั้งนี้ ขณะที่ช่างตีดาบและเหล่าลูกมือของเขาปรากฏตัวในชุดผ้าฝ้ายสีขาว คุณฟูจิมาระกล่าวว่า “ผ้าฝ้ายติดไฟได้ยาก” เสื้อผ้าของพวกเขาเปรอะเปื้อนไปด้วยขี้เถ้า แต่อย่างไรก็ตามสีขาวของผ้าฝ้ายจากชุดที่พวกเขาสวมใส่นั้น เป็นการแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ของศิลปะ เช่นเดียวกันกับการมีอยู่ของศาลเจ้าชินโตขนาดเล็กและของประดับตกแต่งที่ตั้งอยู่เหนือเตาหลอม

คุณฟูจิมาระ คะเนฟุซะ ช่างตีดาบรุ่นที่ 25 ย่อตัวลงเหนือเตาหลอม ขณะที่ลูกมือ 2 คน เตรียมเครื่องมือต่างๆอย่างคล่องแคล่ว และนำอ่างที่ใส่น้ำแล้วมาเตรียมพร้อมไว้ด้านข้าง จากนั้นพวกเขาตักถ่านใส่เข้าไปในเตาไฟที่กำลังปะทุส่งเสียงคำราม ประดุจพลุไฟสีต่างๆกำลังเต้นรำอยู่เหนือกองถ่านหินสีดำด้านล่าง

สีของเหล็กจะเปลี่ยนตามอุณหภูมิของไฟที่สูงขึ้น คุณฟูจิวาระดึงเหล็กร้อนออกจากกองไฟอย่างรวดเร็ว จากนั้นลูกมือของเขาก็เริ่มตีเหล็กร้อนนั้นอย่างคล่องแคล่ว และขณะที่ตีเหล็กพวกเขาก็ส่งเสียงร้องออกแรงไปด้วย เมื่อฟังรวมกับเสียงค้อนกระทบโลหะร้อนๆ ท่ามกลางบรรยากาศละอองไฟที่กระเด็นออกมา และใบหน้าของแต่ละคนที่ชุ่มไปด้วยเหงื่อ ช่างเป็นบรรยากาศที่ฮึกเหิมยิ่งนัก มันทำให้ฉันรู้สึกว่าพลังและความรุนแรงในการตีเหล็กของพวกเขาถูกฝังเข้าไปในดาบเล่มนั้นด้วย แม้แต่ตอนนี้ที่ฉันนั่งดูอยู่ เปลวไฟเล็กๆที่ลอยเข้ามา ทำให้ฉันรู้สึกว่าความฮึกเหิมนั้นได้ถูกส่งผ่านเปลวไฟนี้เข้ามาหาฉันแล้ว

ในขั้นตอนการขึ้นรูปและการตีดาบนี้ใช้เวลาประมาณ 15 วัน และนอกจากนี้ยังมีขั้นตอนการทำส่วนประกอบอื่นๆอีกด้วย เช่น ด้ามจับดาบ และฝักใส่ดาบ ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นหน้าที่ของช่างฝีมือ โดยแต่ละชิ้นจะมาในรูปแบบของชิ้นส่วนสำเร็จรูป เพราะต้องใช้เวลาในการทำประมาณ 2 ถึง 6 เดือน หรือบางชิ้นก็อาจใช้เวลานานมากกว่านั้น

กว่าจะเป็นช่างตีดาบญี่ปุ่น

ฟูจิมาระ ช่างตีดาบญี่ปุ่นรุ่นที่ 25

ฉันอยากรู้ว่ากว่าจะมาเป็นช่างตีดาบญี่ปุ่นได้ต้องผ่านอะไรมาบ้าง คุณฟูจิมาระ ช่างตีดาบรุ่นที่ 25 บอกว่า “มันยากมากจริงๆ ไม่เพียงแต่จะใช้แรงกายอย่างหนัก แต่ยังต้องอาศัยแรงใจที่มุ่งมั่น และมันต้องใช้เวลา”

ก่อนที่จะมาเป็นช่างตีดาบ จะต้องผ่านประสบการณ์การฝึกงานเป็นลูกมือของช่างตีดาบ เป็นเวลา 5 ปี โดยในระหว่างนั้นจะยังไม่ได้รับใบรับรอง คุณฟูจิมาระบอกว่า “ช่วงฝึกอบรม ทุกอย่างเข้มงวดมาก ครั้งแรกเริ่มฝึกจากการแยกถ่านหิน ทำความสะอาดโรงงหลอมและเครื่องมือต่างๆ ผลิตไม้กวาด และงานอื่นๆ  ผมสอนการใช้ค้อนให้กับพวกเขา วิธีควงค้อน การดูสีของเปลวไฟ อุณหภูมิ และการแปลความหมายของเสียงที่ออกมาจากการตีเหล็ก ”

คุณทาโร อาซาโนะ ลูกมือของคุณฟูจิวาระเล่าให้ผมฟังว่า เข้าไม่ได้มาจากครอบครัวช่างตีดาบ แต่ในตอนที่เขามีอายุ 13 ปี เขาได้มีโอกาสไปดูการทำงานของช่างตีดาบอยู่ครั้งหนึ่ง และนั่นก็เป็นการจุดประกายความฝัน และเริ่มสนใจอาชีพนี้มากขึ้น จนกระทั่งเมื่อเขาอายุ 20 ปี เขาได้ติดต่อเข้าไปที่ศาลาว่าการเมืองเซกิ เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการสมัครไปเป็นลูกมือของช่างตีดาบ และหลังจากนั้นเขาก็ได้เข้ามาเรียนรู้งานพื้น

ช่างตีดาบ ทาโร อาซาโนะ

ฐานที่นี่ และฝึกหัดจนได้เป็นลูกมือของคุณฟูจิวาระในตอนนี้

โดยในตอนแรกเขาบอกว่า วันแรกที่เข้ามาที่นี่ ทุกอย่างมันยากมาก เขารู้สึกผิดหวัง เพราะงานแต่ละอย่างที่เขาได้ทำดูไม่ได้สอดคล้องกับการจะเป็นช่างตีดาบเหมือนที่เขานึกฝันไว้เลย เขาสงสัยกับตัวเองตลอดว่า ทำไมเขาต้องมานั่งทำความสะอาดถ่านหิน นอกจากนี้เขายังบอกอีกด้วยว่าการทำงานเป็นลูกมือช่างตีดาบนี้ ไม่มีค่าจ้างตอบแทนในรูปแบบของเงินเดือน แต่ในอดีตตำแหน่งงานนี้จะได้รับค่าตอบแทนเป็นที่อยู่อาศัย โดยจะได้อยู่เรียนรู้งานจากช่างตีดาบตลอดเวลา แต่ในปัจจุบัน ทางรัฐบาลมีมาตรการที่เข้มงวดขึ้นมาก และมีการเปลี่ยนแปลงกฎในข้อนี้ บางครั้งมีตัวแทนจากทางรัฐบาลมาคอยตรวจตราดูอยู่บ่อยๆด้วยว่ามีการละเมิดกฎหรือไม่

เมื่อผ่านพ้นระยะเวลา 5 ปีขอการเป็นลูกมือ ทุกคนต้องเข้ารับการสอบ ซึ่งใช้ระยะเวลาทั้งหมดถึง 10 วัน โดยคุณฟูจิวาระบอกกับผมเองเลยว่า “การสอบนี้ยากนะ ครึ่งหนึ่งของผู้เข้าสอบทั้งหมด สอบตก” และสำหรับผู้ที่สอบไม่ผ่าน ก็ต้องปฏิบัติตามธรรมเนียม คือกลับไปเป็นลูกมือให้กับช่างตีดาบของตัวเองอีก 1 ปี   และเมื่อสอบผ่านในจุดนี้แล้ว ก็จะได้เป็นช่างตีดาบอิสระ จากประสบการณ์ 5 ปีเต็มที่ใช้ชีวิตอยู่กับใบมีด ก็ถือได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้อย่างเต็มตัว และปัจจุบันคุณอาซาโนะ ก็ได้เปิดร้านตีดาบเป็นของตัวเองด้วย โดยมีชื่อว่าร้านอาซาโนะ คาจิยะ

ร้านตีดาบญี่ปุ่น อาซาโนะ คาจิยะ

เซกิ มีดีมากกว่าการตีดาบญี่ปุ่น

ที่เมืองเซกิแห่งนี้ไม่ได้มีชื่อเสียงทางด้านการตีดาบญี่ปุ่นแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ไม่ว่าเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดๆที่มีใบมีดเป็นส่วนประกอบ ที่นี่ก็สามารถผลิตอุปกรณ์เหล่านี้ออกมาได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องครัว ไปจนถึงกรรไกรตัดเล็บเลยทีเดียว

เมืองเซกิ ผู้ผลิตเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดๆที่มีใบมีดเป็นส่วนประกอบ

คุณยูเฮอี ซาคาอิ ชายผู้อยู่ในชุดทำงานที่บุคลิกจริงใจและยินดีให้คำแนะนำท่านนี้ เขาเป็นช่างทำมีดชื่อดังของที่นี่ เป็นช่างทำมีดรุ่นที่ 4 ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการผลิตมีดทำครัว ปลอกใส่มีด และมีดอเนกประสงค์ที่ใช้งานนอกบ้าน เช่น มีดที่ใช้ในการตั้งแคมป์ การตกปลา กีฬาเรือใบ ไปจนถึงมีดที่ใช้ในการล่าสัตว์ และอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้มีดของเขามีชื่อเสียงโด่งดัง ก็คือมีดกันสนิม

นอกจากนี้คุณซาคาอิได้บอกกับฉันว่า เขาได้รับออเดอร์การสั่งซื้อมีดมากมาย ทั้งจากบริษัทภายในประเทศ และต่างประเทศ เนื่องจากมีดของเขามีชื่อเสียงโด่งดังในด้านการใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง มีดมีคุณภาพดี และมีประสิทธิภาพ โดยเขาได้ควบคุมคุณภาพการผลิตอย่างเคร่งครัด และใช้เหล็กและวัตถุดิบต่างๆที่ไม่สามารถหาได้ในต่างประเทศ และเขาได้ผลิตมีดออกจำหน่ายทั่วโลกกว่า 200 รูปแบบ และเขายังกล่าวทิ้งท้ายอีกด้วยว่า “แม้กระทั่งมีดสำหรับกีฬากระโดดร่ม เราก็ทำ”

มีดเซกิ มีดดั้งเดิมแบบญี่ปุ่น

ในช่วงเวลานั้นการทำมีดยังจำเป็นต้องใช้แรงงานฝีมือจำนวนมาก แน่นอนว่าก็คงต้องมีการใช้เครื่องจักเข้ามาร่วมด้วย แต่ทุกขั้นตอนตั้งแต่การเจาะจนถึงการเจียรก็ยังจำเป็นต้องใช้แรงกายและทักษะทางฝีมือขั้นสูง

ปัจจุบันช่างทำมีดฝีมือยังคงเป็นที่ต้องการของตลาด แม้ว่าการใช้เครื่องจักรกลในการผลิต จะสามารถผลิตมีดได้ในปริมาณที่มาก และมีความสามารถในการยกของหนัก ตัดโลหะ ปั๊มโลหะ แต่อย่างไรก็ตามงานบางอย่างอีก 30% ก็ยังคงต้องการทักษะของช่างฝีมือ

เครื่องจักรกลในการผลิตมีดเซกิ

คุณซาคาอิให้ความสำคัญกับงานฝีมือเป็นอย่างมาก เขาได้สร้างพิพิธภัณฑ์มีดขึ้นเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชมการผลิตมีด และยังมีกิจกรรมทำมีดฝีมือให้ลองทำอีกด้วย และครั้งนี้ฉันก็ได้ทำมีดเป็นของตัวเอง โดยฉันเลือกเหล็กดามัสกัสมาทำส่วนของใบมีด และด้ามจับมีดฉันก็ได้เป็นเลือกเอง โดยคุณซาคาอิได้แนะนำทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการขัดใบมีดด้วยกระดาษทรายเพื่อเอาเหล็กที่มีคลอไรด์ออกมา, การทำใบมีด ไปจนถึงการได้ทดสอบความคมของมีด ด้วยการใช้ตัดกระดาษและหั่นมะเขือเทศที่สามารถหั่นได้บางไม่ถึง 1 มิลลิเมตร ฉันแทบอดใจไม่ไหวที่จะนำรางวัลของฉันอันนี้กลับไปใช้ในห้องครัวที่บ้านแล้ว

กิจกรรมทำมีดฝีมือเซกิ

วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย

คุณซาคาอิบอกกับผมว่า เมื่อเวลาผ่านไปเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและพัฒนามากขึ้นก็จะทำให้การผลิตในธุรกิจของเขามีความแม่นยำมากขึ้นไปด้วย เขาหวังว่าคนรุ่นใหม่จะสามารถปรับใช้เทคโนโลยี และสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างต่อเนื่องในการผลิตอุปกรณ์การตัดที่ยอดเยี่ยมที่สุดต่อไปในทุกๆวัน

ในขณะที่กฎหมายของรัฐบาลยังคงกำหนดให้คาตานะ หรือดาบซามูไรถูกผลิตได้ด้วยวิธีแบบดั้งเดิม โดยช่างตีดาบที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลเท่านั้น และเหล่าช่างตีดาบก็รู้ด้วยว่าในปัจจุบันแทบจะไม่มีใครใช้ดาบซามูไรกันแล้ว นอกจากการใช้ในงานที่รำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญ งานวันเกิด งานขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์ และงานเลื่อนขั้นของซูโม่
คุณฟูจิวาระบอกว่า “ถ้าถามว่าแล้วทำคาตานะไปทำไม? จากอดีต คาตานะเป็นศิลปะชั้นสูงที่ไม่มีใครในโลกนี้สามารถทำได้ เพราะฉะนั้นเหตุผลที่ยังทำอยู่ ก็คือ เพื่อรักษาและส่งต่อศิลปวัฒนธรรมนี้ไม่ให้สูญหายไป คาตานะ ไม่ใช่แค่มีดดาบที่ใช้ตัด แต่เป็นจิตวิญญาณ และเป็นหัวใจของชาวซามูไรด้วย ”

ฉันก็เลยถามต่อว่าจะส่งต่อศิลปวัฒนธรรมนี้ไปสู่อนาคตได้อย่างไร ถ้าใช้วิธีการแบบดั้งเดิมมันจะเป็นไปได้หรือ?

การตีเหล็กดั้งเดิมของญี่ปุ่น

คุณอะซาโนะตอบว่า “ประเพณีไม่ควรถูกรักษาไว้เพื่อประโยชน์ของตัวมันเอง แต่เราควรจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของงานและประยุกต์ประเพณีเข้าไปในงานให้สามารถใช้ได้ในอนาคตด้วย” และคุณอะซาโนะก็ได้พยายามเผยแพร่วัฒนธรรมการตีเหล็กดั้งเดิมของญี่ปุ่น โดยการทำจิตอาสา สาธิตการตีดาบในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้เขามีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งมาก ทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ

ก่อนจากกันคุณอาซาโนะยังบอกอีกด้วยว่า “ผมเคยไปทำเวิร์คชอปการตีดาบดั้งเดิมที่ MIT มีคนบอกผมว่า MIT เป็นที่สำหรับเทคโนโลยีขั้นสูง แต่เทคโนโลยีขั้นสูงนั้นมีอยู่ได้ ก็เพราะว่ามีเทคโนโลยีดั้งเดิมเป็นฐานรองรับอยู่ การที่จะทำให้เทคโนโลยีขั้นสูงมีอยู่และเติบโตได้ เราต้องปกป้องเทคโนโลยีดั้งเดิมไว้” หลังจากจบการบรรยายนั้น คนจำนวนมากต่างก็ปรบมือให้เขา การตีดาบญี่ปุ่นแม้จะเป็นวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม แต่ก็ยังได้รับเสียงปรบมือท่ามกลางโลกสมัยใหม่

ช่างตีดาบแบบญี่ปุ่น

“การตีดาบแบบญี่ปุ่นต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก แต่ช่างตีดาบกลับไม่สามารถจับต้องงานของตัวเองได้ แม้ว่า คนส่วนใหญ่มักจะทำในสิ่งที่ตนเองจับต้องได้ เพราะทุกๆอย่างบนโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่การตีดาบแบบญี่ปุ่นเป็นศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดและไม่เคยเปลี่ยนแปลง” เขาคิดว่านี่คือความต้องการของวิถีแบบเก่า

การตีดาบแบบญี่ปุ่น

คุณฟูจิวาระหวังว่าชาวเมืองเซกิจะช่วยกันรักษาประเพณีดั้งเดิมนี้ไว้ให้มีอยู่ต่อไป “คนที่นี่เติบโตมาท่ามกลางประเพณีนี้ ผมอยากให้พวกเขามีความภาคภูมิใจ และช่วยกันเผยแพร่การตีดาบนี้สู่สายตาชาวโลก ” แม้ว่าดาบซามูไรจะเป็นสิ่งของในตำนานหรืออยู่ในประวัติศาสตร์ แต่เขามองเห็นภาพของมันในอนาคตแล้ว โดยเขาตั้งใจที่จะเผยแพร่วัฒนธรรมนี้ผ่านทางการ์ตูนมังงะหรืออานิเมะ เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้จักกับดาบซามูไรต่อไป และเมื่อไม่นานมานี้คุณฟูจิวาระยังได้มีส่วนร่วมในการทำดาบจากหินอุกาบาตอีกด้วย

การมาเยือนที่เมืองแห่งมีดดาบแบบญี่ปุ่นของฉันในครั้งนี้สอนอะไรกับฉันมากกว่าที่ฉันคิด มันทำให้ฉันได้เห็นมุมมองใหม่ๆและรู้สึกชื่นชมนักตีดาบมากฝีมือเหล่านี้ รวมถึงรู้สึกเคารพมรดกที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาอีกด้วย ฉันหวังว่าผู้คนจะสนใจเรื่องราวเหล่านี้ และได้ลองมาเข้าร่วมเวิร์คชอปสาธิตการทำมีดด้วยตัวเอง และถึงแม้ว่าการทำมีดอาจจะไม่ใช่สิ่งที่คุณถนัด แต่การได้ชื่มชบกับความปราณีตและจิตวิญญาณที่ถูกถ่ายทอดมายังมีดทุกเล่มก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อย